เครื่องพิมพ์ Sublimation 180 cmm แบบ 3 หัวพิมพ์ i3200 สำหรับพิมพ์ลายเสื้อผ้ากีฬา ผ้าใยสังเคราะห์สีขาวรองรับการทำงานแบบม้วนะร้อมชุดม้วนเก็บเมื่อพิมพ์เสร็จให้งานสกรีนพิมพ์ลายสีจมลมผ่านได้คงทนซักแล้วไม่แตก
ขั้นตอนการทำงาน
1.พิมพ์รูปลายต่างๆลงบนกระดาษ
2.นำไปรีดบนผ้า
เสร็จ
ด้วยการผลิตที่ไม่ยุงยากบวกกับเป็นเครื่องที่ดูแลง่ายเมื่อเทียบกับเครื่องชนิดอื่นๆ งานที่ทำออกมาก็ยังคงทนกว่าทุกระบบในการทำเสื้อลักษณะเหมือนสีย้อมไปกับใยผ้าลมผ่านได้ซักจนผ้าขาดสีก็ยังไม่หลุด
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ไลน์ @fixink โทร 0845522609
รุ่น | 1901 |
จำนวนหัวพิมพ์ | 3 หัวพิมพ์ หัวพิมพื i3200 |
ความละเอียดในพิมพ์ | 720x1440 dpi |
รองรับวัสดุกว้าง | 180cm |
ความเร็วในการพิมพ์ | 40 ตรม / ชม 4pass |
ระบบทำความร้อน | หน้า หลัง และพัดลม |
ระบบปฎิบัติการ | windows 7 8 10 และ 11 |
แรงดันไฟ | 220 V |
ทำหนัก | 170kg |
เราจะเลือกเครื่องแบบไหนดีในการทำเสื้อ
หลายๆท่านอาจะจเกิดคำถามนี้แล้วยังไม่ได้คำตอบเรามาดูกันว่าระบบที่สามารถสกรีนเสื้อได้จะมีอะไรบ้างมีข้อดีข้อเสียอย่างไร
1. DTF DFT ( Direct To Film ) หรืออาจจะเรียกอย่างอื่นก็ได้แต่วิธีการทำเหมือนกันวิธีการทำก็คือ
-พิมพ์บนฟิล์ม
-โรยกาวและตีกาว ( อปุกรณ์เสริมหรือเครื่องโรยกาวและอบอัตโนมัติ )
-อบ ( อปุกรณ์เสริมหรือเครื่องโรยกาวและอบอัตโนมัติ )
-นำไปรีดบนผ้าทุกสี ทุกชนิด
ข้อดีของระบบนี้คือรองรับทุกผ้าทุกสี รวมถึงแผ่นหนังบางชนิด ทำงานได้หลากหลาย
ข้อเสีย งานจะมีลักษณะเป็นยางทำให้ลมผ่านไมได้หากทำงานใหญ่อาจจะทำให้ผู้ใส่เสื้อร้อนคล้ายงานสกรีนบ๊อก
ถ้าเน้นที่การทำเสื้ออย่างเดียว DTF DFT ก็เหมาะสม
2. Sublimation เป็นหมึกสีระเหิด
ขั้นตอนการผลิต
-พิมพ์ลงกระดาษ
-รีดบนผ้า ได้ทั้งแบบม้วนและแแผ่น
เป็นระบบการสกรีนพิมพ์ล้ายแลลสีจมเข้าเนื้อผ้าเหมือนสีย้อมลมผ่านได้มีความคงทนสูงซักจนผ้าขาดสีก็ยังไม่หลุดนิยมทำบนเสื้อกีฬา ผ้าไมโค โพลีเอสเตอร์และผ้าที่เป็นใยสังเคราะห์อื่น ต้นทุนถูกกว่าทุกระบบ นอกจากทำผ้าแล้วยังทำบนวัสดุอื่นๆได้แต่ต้องเคลือบผิวก่อนหรือเป้นวัสดุเฉพาะ เช่น แก้ จาน กระเบื้อง อื่นๆ
ข้อดี สีมีความคงทนสูง ลบผ่านได้ ต้นทุนถูก หมึกดูแลง่ายกว่าทุกระบบ ทำง่าย
ข้อเสีย ทำได้แค่ผ้าสีขาวหรือสีอ่อน ที่ไม่ใช่คอตตอล 100%
3.DTG ( Direct To Garment )
ขั้นตอนการผลิต
-ฉีดนำยาปรับสภาพผ้า
-อบ
-พิมพ์
-อบ
เสร็จขั้นตอน อาจจะมีเทคนิคในการทำแตกต่างกันออกไป
DTG เป็นระบบพิมพ์ตรงลงเสื้อที่มีมาก่อนระบบ DTF ลักษระงานจะเหมือน DTF เป้นยางเหมือนบีอกสกรีนลมผ่านไม่ได้ ลักษณะงานจะจมเข้าเนื้อผ้าเพราะพิมพ์ตรง
ข้อดี สำหรับงานที่ต้องการสีแบบจมเข้าเนื้อ (ลมผ่านไม่ได้ ) ออกแนววินเทรค
ข้อเสีย รองรับผ้าผ้าชนิด ต้องทำทีละตัว ขั้นตอนเยอะเหมือเทียบกับระบบอื่นๆ
4.งานเฟล็ก ( Flex )สำหรับงานรีดเสื้อจะมีหลายชนิดถ้าจะแบ่งออกแบบกว้างคือ
4.1 เฟล็กตัด เรียกแบบเข้าใจง่ายก็คือเฟล็กตัดไม่จำเป็นต้องมีเครื่องพิมพ์มีแค่เครื่องตัดก็ทำงานได้เลยนิยมนำมาทำงานแบบสีเดียวเช่นเบอร์เสื้อกีฬา งานรีดคำต่างๆโดยเฟล็กแบบนี้จะมีเยอะมากเช่น แบบกำมะหยีลักษณะจะนูนนิ่ม เฟล็กฮาโลแกรม เฟล็กสะท้อนแสง เฟล็กเรืองแสงทำสำหรับในทีมืดและอื่นๆอีกมากมายจะเป็นการทำแบบสีเดียวโดยจะมีสีมาจากโรงงานและมีรุปบบพิเศษมาจากโรงงานเลยเราเพียงนำมาตัดเป็นรูปแบบที่ต้องการ
4.2เฟล็กปริ้น จะเป็นเฟล็กสีขาวสำหรับพิมพ์ด้วยหมึก Eco Solvent ตัดส่วนที่ไม่เอาออกจากนั้นก็นำไปรีดบนเสื้อลักษณะงานเป็นยางเหมือนกัน เหมาะกับการทำเสื้อและต้องการทำสติ๊กเกอร์งานฉลกาสินค้าด้วยระบบนี้จะเหมาะ ระบบนี้ก็รองรับทุกผ้าทุกสี
5.งานกระดาษทรานเฟอร์ จะมี 2 แบบ แบบสีเข้มและสีอ่อน ทำงานโดยการพิมพ์กับหมึกกันน้ำ pigmant ตัดส่วนที่ไม่เอาออกและนำไปรีดงานจะมีลักษณะเป็นยางจะสดสู้ เฟล็กไมได้ ความคงทนน้อยกว่าระบบอื่น เหมาะกับทำงานสติ๊กเกอร์และฉลกาสินค้างานพิมพ์อื่นๆไปด้วย เสื้อเป็นส่วนเสริม